อาหารพื้นบ้านภาคใต้

วันศุกร์ที่ 28 พฤศจิกายน พ.ศ. 2557

แกงส้มชาวใต้

แกงส้มชาวใต้


แกงส้ม เป็นอาหารไทย ประเภทแกงที่มีรสเปรี้ยว โดยเป็นแกงที่ใส่เนื้อสัตว์ ส่วนใหญ่เป็นปลาหรือกุ้ง ผักที่ใช้อาจเป็นผักบุ้ง มะละกอ หัวไชเท้ากะหล่ำดอก ดอกแค หรือไข่เจียวชะอม ใช้น้ำพริกแกงส้มละลายน้ำ ต้มให้เดือด ใส่ผักและเนื้อสัตว์ ปรุงรสด้วยน้ำส้มมะขาม น้ำตาลปี๊บ เกลือ มีรสชาติเผ็ด หวาน เค็ม เปรี้ยว


วันนี้เราขอเอาใจคุณแม่บ้านทั้งหลายด้วยเคล็ดลับในการทำแกงส้มให้อร่อย เอาไว้มัดใจคุณสามีสุดที่รัก และทุกคนในบ้านค่ะ เคล็ดลับที่ว่านี้คืออะไร ไปดูกันเลย... 
 

ในการทำแกงส้ม น้ำพริกแกง ถือว่ามีความสำคัญ รวมไปถึงขั้นตอนการปรุง และสัดส่วน ระหว่างน้ำแกงกับผัก ที่ความสำคัญไม่แพ้กัน การจะทำให้แกงส้มได้อร่อยนั้น ต้องเริ่มตั้งแต่ตั้งน้ำในหม้อ ต้องให้น้ำเดือดก่อนถึงใส่พริกแกง เพื่อจะได้น้ำแกงที่หอม หลังจากใส่น้ำพริกแกงลงไปแล้วให้ใช้ไฟกลาง รอให้น้ำพริกแกงเดือดสักครู่ หลังจากเคี่ยวน้ำพริกแกงแล้ว จึงใส่ผักลงต้มจนผักสุกนุ่ม จึงใส่เนื้อปลาหรือกุ้ง กรณีแกงส้มผักกระเฉด ให้ใส่ปลาปรุงรส รอจนน้ำเดือด จึงใส่ผักกระเฉดเป็นอันดับสุดท้าย จากนั้นปิดเตาทันที เพราะผักกระเฉด หากถูกความร้อนนานจะเหนียว ทานไม่อร่อย ที่สำคัญท่องเอาไว้เลยว่าหลังจากที่น้ำพริกแกงเดือดแล้ว ให้รอซักพักใหญ่ๆ อย่าเพิ่งรีบใส่ผักกับเครื่องปรุงอื่นๆ ลงไป เพราะจะทำให้ได้แกงส้มที่รสชาติไม่กลมกล่อม

 สำหรับแกงส้มปลา ควรใช้ปลาที่สดใหม่ ยังไม่แช่เย็น จะได้เนื้อปลาที่นุ่ม อร่อย ไม่ยุ่ย ถ้ากลัวว่าแกงจะคาว ให้นำปลาหั่นเป็นชิ้นตามต้องการ นำไปลวกครั้งหนึ่งก่อน แล้วค่อยนำไปแกง หากได้ปลาที่ไม่ค่อยสด หรือเป็นปลาแช่เย็น ให้นำไปทอดให้พอเหลืองก่อน แล้วค่อยนำมาแกงดีที่สุด

 ส่วนใครอยากได้แกงส้มที่มีน้ำเข้มข้น ให้ผสมเนื้อปลาลงในน้ำพริกแกงก่อนนำไปแกง โดยนำเนื้อปลาที่จะใช้แบ่งออกมาเล็กน้อย นำไปต้มจนสุก จากนั้นแยกก้างออก นำไปโขลกในครกให้เนื้อปลาแตก เสร็จแล้วใส่น้ำพริกแกงส้มที่เตรียมไว้ลงไปโขลกรวมกัน นำไปแกง ตามขั้นตอนปกติ เท่านี้ก็จะได้น้ำแกงส้มที่เข้มข้นขึ้น

 รู้เคล็ดลับทำแกงส้มให้อร่อยกลมกล่อมกันแล้ว จะทำแกงส้มคราวหน้าก็อย่าลืมนำเคล็ดลับนี้ไปใช้กันนะคะ รับรองว่าได้แกงส้มที่อร่อย กลมกล่อม และเข้มข้นสุดๆ ไปเลย...





ไม่ยากและก็ไม่ง่ายเลยใช่ไหมค่ะ เรามีวีดีโอการทำแกงส้มประกอบ
แหล่งข้อมูลจาก


ขนมจีนน้ำยา จากปักษ์ใต้

ขนมจีนน้ำยา จากปักษ์ใต้



นมจีน เป็นอาหารยอดนิยมของชาวปักษ์ใต้อีกอย่างหนึ่งค่ะ 
ในแต่ละจังหวัดนั้นรสชาติของน้ำยาหรือน้ำแกงนั้นอาจจะแตกต่างกันบ้างเล็กน้อย 
แถวๆนครศรีฯ น้ำยาจะไม่มีรสเปรี้ยว(ไม่ใส่ส้ม)เน้นความเผ็ดร้อน ส่วนที่สงขลา,
และยะลาจะใส่ส้มแขกหรือ ส้มท้อน(กระท้อน)เพื่อให้เกิดรสเปรี้ยว 
แต่วันนี้จะนำเสนอน้ำยาที่ใส่ส้มแขกค่ะ
เมื่อเรารับประทานขนมจีนจะต้องมีผักที่กินคู่กับขนมจีนที่หลากหลาย 
คนปักษ์ใต้จะเรียกว่า “ผักเหนาะ” พูดถึงผักเหนาะก็นำเสนอ ผักบ้านๆ เช่น
ยอดยาร่วง(ยอดมะม่วงหิมพานต์)
ยอดมันปู
ยอดหมุย
ผักชีล้อม
ลูกเหรียง(หน่อเหรียง)
ลูกเนียง(ลูกเนียงใหญ่)
ลูกเนียงนก
ลูกตอ(สะตอ)
ารทำน้ำยาขนมจีนปักษ์ใต้นั้นที่สำคัญคือปลาที่นำมาทำต้องสดมากๆ
น้ำยาจะอร่อยกลมกล่อม จะใช้ปลาชนิดไหนก็ได้ แต่ที่บ้านจะใช้ปลาน้ำดอกไม้
(ปักษ์ใต้ที่สงขลาเรียกว่าปลาสาก,ส่วนที่ยะลาจะเรียกว่าปลาถั่วค่ะ) 
เครื่องแกงต้องโขลกกันสดๆเช่นกัน 
การโขลกน้ำพริกแกงจะให้กลิ่นหอมของเครื่องแกงที่ดีกว่าการปั่น 
เพราะการโขลกนั้นจะช่วยให้น้ำมันหอมระเหย
ที่อยู่ในเครื่องเทศจะออกมาได้มากกว่าการปั่นค่ะ 
เรามาดูส่วนผสมกันค่ะ
•ส่วนผสมเครื่องแกง ตะไคร้ 2ต้นพริกขี้หนูแห้งใส่ตามชอบ
ข่าซอย 2แว่นกระเทียม 1หัวหอมแดง 2หัวขมิ้น 1แง่ง (ประมาณ 1นิ้ว)
พริกไทยดำ 1 ช้อนชา, กะปิประมาณ 2 ช้อนโต๊ะเกลือป่นประมาณ 1ช้อนชา
•ส่วนผสมน้ำยา กะทิคั้นจากมะพร้าว ½ กิโลกรัม (หัวกะทิ 1ถ้วย หางกะทิ 2ถ้วย), 
ปลาทั้งตัว ประมาณ ½ กิโลกรัมส้มแขก 5-6 ชิ้นน้ำปลา (เติมแล้วชิมรสตามชอบ)
น้ำตาลแว่น ประมาณ 2 ช้อนโต๊ะ
วิธีการทำน้ำยา
1.โขลกทุกอย่างรวมกันจนละเอียดแล้วเติมกะปิ
2.ต้มปลาแล้วแกะเอาแต่เนื้อปลา
3.ใส่เนื้อปลาลงโขลกรวมกับเครื่องแกง (ข้อ1)
4.คั้นกะทิแยกหัวกะทิและหางกะทิ
5.นำหางกะทิตั้งไฟพอเดือด ใส่น้ำพริกแกง(ข้อ3)คนให้ละลาย ปรุงรสด้วยน้ำปลา 
น้ำตาลแว่นและส้มแขก(ล้างแล้วแช่น้ำให้นิ่มก่อนค่ะ) 
เคี่ยวไฟอ่อนๆสักครู่รอให้ส้มแขกออกรสเปรี้ยว ชิมรสดูตามชอบใจ 
แล้วจึงเติมหัวกะทิลงไปต้มจนเดือดอีกครั้ง ปิดไฟยกลง รับประทานได้แล้วค่ะ
เรามีวีดีโอประกอบด้วยน่ะค่ะ

แหล่งข้อมูลจาก

คั่วกลิ้งไก่

คั่วกลิ้งไก่ปักษ์ใต้


คั่วกลิ้งเป็นอาหารใต้

เดิมจะเป็นคั่วกลิ้งเนื้อ  

ต่อมาคนทานเนื้อน้อยลง

เลยมี คั่วกลิ้งหมู

และก็มีการพัฒนาต่อมาเป็น "คั่วกลิ้งปลา" ร้านปักษ์ใต้ 41 ที่วัดลาดพร้าวทำขาย

คั่งกลิ้งเป็นการเอาเนื้อสับมาผัดกับพริกแกงแบบแห้ง ไม่ใส่น้ำมันเลย

เป็นอาหารที่เก็บไว้ทานได้หลายวันโดยเฉพาะเวลาเดินทาง

คั่วกลิ้งเป็นอาหารที่รสจัดมากๆๆๆ ดังนั้นคั่งกลิ้งก็ต้องทานกับข้าวสวยพร้อมกับผัก
วันนี้มีวิธีการทำคั่วกลิ้งไก่มาฝาก รับรองอร่อยถูกปาก ถูกใจทุกท่านแน่นอนค่ะ
 คั่วกลิ้งไก่
 
เครื่องปรุง
 
 
◊ พริกแกง
◊ หอมแดง ๒ หัว
◊ กระเทียม ๓ กลีบใหญ่
◊ พริกไทย ๑๐ เม็ด
◊ ขมิ้น แง่งเล็กๆเท่าปลายนิ้วก้อย
◊ ตะไคร้ ๒ ต้น
◊ พริกแห้ง ๑ ช้อนโต๊ะ (ก้อยใช้แบบบด)
◊ เกลือ นิดหน่อย
◊ โขลกทุกอย่างให้ละเอียดจะได้พริกแกงประมาณ ๑ ช้อนโต๊ะ
◊ ไก่สับ หรือ เนื้อสับ ๓๐๐ กรัม
◊ ใบมะกรูดหั่นฝอย พอประมาณ
◊ ตะไคร้ซอย ๒ ต้น
◊ น้ำมันพืช นิดหน่อย
วิธีทำ

◊ ใส่น้ำมันลงในกระทะเล็กน้อย ใส่พริกแกงลงผัดจนหอม ระวังอย่าใส่น้ำมันเยอะเพราะเดี๋ยวคั่วจะไม่กลิ้ง จะกลายเป็นผัดพริกแกงไป
◊ พริแกงหอมดีแล้ว ใส่เนื้อหรือไก่ลงไป ผัดจนเข้ากันดี ปรุงรสตามชอบแล้วคั่วไปเรื่อยๆ จนเนื้อกลิ้งได้
◊ ใส่ตะไคร้ซอยกับใบมะกรูดหั่นฝอย คั่วต่ออีกสักพัก ยกลงเสริฟได้เลยค่ะ คั่วกลิ้งยิ่งอุ่นหลายครั้งยิ่งอร่อย


เห็นไหมล่ะค่ะ ไม่ยากเลยใช่ไหมค่ะ ถ้าจะให้เข้าใจง่ายขึ้น เรามาดูวีดีโอพร้อมๆกันเลยค่ะ


แหล่งข้อมูลจาก
https://sites.google.com/site/xaharpaksti/withi-kar-tha-khaw-kling



ผัดสะตอแสนอร่อย

ผัดสะตอแสนอร่อย



    พอนึกถึงผัดพริกแกงกุ้งใส่สะตอ กับข้าวสวยร้อนๆแล้วก็คงทำให้หลายคนเกิดอาการอยากกินข้างขึ้นมาทันที วันนี้มาลองหัดทำกันเลยดีกว่า แล้วจะบอกว่าง่ายมากๆ แถมวัตถุดิบก็มีไม่กี่อย่าง พระเอกนากเองงานนี้ก็คงหนีไม่พ้น กุ้งกับสะตอค่ะ
เครื่องปรุง
1. พริกแกงเผ็ด
2. กะปิเคอย
3. น้ำปลา
4. น้ำมันพืช
5. กุ้ง
6. สะตอ (พระเอกของเมนูนี้เลยล่ะ)


วิธีทำ

   ตั้งกะทะเทน้ำมันลงพอประมาณ ตามด้วยพริกแกงเผ็ดและกะปิเคอย ผัดจนกลิ่นหอม

  
จากนั้นก็ใส่สะตอที่ปลอกผ่าครึ่งแล้วลงไป ผัดจนสะตอเริ่มสุกใส่น้ำปลาเพิ่มรสชาดเล็กน้อย



                          เติมน้ำต้มสุกหรือน้ำซุบได้นะค่ะ เพื่อไม่ให้ติดกะทะจนเกินไป

                        ตามด้วยใส่กุ้งลงไปผัดให้เข้ากัน พอกุ้งสุกก็ตักใส่จานได้เลยล่ะคะ


                             หน้าตาน่าทาน ผัดสะตอใส่กุ้ง กินกับข้าวสวยร้อนๆ


เรียนรู้วิธีการทำแล้ว เราก็มาดูมาทำพร้อมๆกันเลย Les't goooooooo!!!

ข้าวยำ

ข้าวยำ



ข้าวยำปักษ์ใต้
ข้าวยำเป็นอาหารจานเดียวและถือว่าเป็นอาหารท้องถิ่นของภาคใต้ ในปัจจุบันเป็นที่นิยมกินกันพอสมควร คนทางภาคใต้นิยมกินเป็นอาหารเช้าหรืออาหารกลางวัน

ข้าวยำประกอบด้วย ข้าวที่หุงค่อนข้างแข็งนิดหน่อย มะพร้าวคั่ว กุ้งแห้งป่น พริกแห้งคั่วแล้วป่น ผักชนิดต่างๆ ผักที่นิยมใช้ประกอบในข้าวยำ ได้แก่ สะตอหั่นฝอย ถั่วงอก ถั่วฝักยาวหั่นฝอย แตงกวา ตะไคร้หั่นฝอย ใบชะพลูหั่นฝอย ส้มโอฉีกเป็นชิ้นเล็กๆ บางที่อาจใส่ข้าวตังทอดหรือเส้นหมี่ทอดด้วยก็ได้ ส่วนผสมของน้ำบูดูปรุงรสนั้นทำโดยการนำน้ำบูดูมาต้มกับน้ำด้วยไฟอ่อนๆ ใส่ตะไคร้ทุบ หอมทุบ น้ำตาลปีบ ใบมะกรูด และข่าทุบ รสชาติจะค่อนไปทางหวาน บางท่านอาจจะไม่ทราบว่าน้ำบูดูทำมาจากอะไร ก็จะขออธิบายคร่าวๆว่า น้ำบูดูได้จากการหมักปลาตัวเล็กๆ กับเกลือเม็ด โดยหมักไว้ในโอ่งหรือไห (ตามแต่จะหาได้) แล้วปิดผนึกอย่างดี ตากแดดทิ้งไว้อย่างน้อย 2-3 เดือน หรืออาจจะเป็นปี จึงนำมาใช้ได้ น้ำบูดูมีทั้งชนิดหวานและเค็ม ชนิดหวานใช้คลุกกับข้าวยำชนิดเค็มใช้ปรุงอาหารประเภทน้ำพริกเครื่องจิ้ม ข้าวยำปักษ์ใต้มีส่วนผสมและวิธีทำดังนี้

 
ส่วนผสม 
ข้าวสวย                  6 1/2 ถ้วยตวง 
กุ้งแห้งป่น              1 1/2  ถ้วยตวง 
น้ำมะนาว                9        ช้อนโต๊ะ 
น้ำบูดูปรุงรส           3/4      ถ้วยตวง 
ข้าวตากแห้งทอด   3         ถ้วยตวง 
มะพร้าวขูดคั่ว         1  1/2  ถ้วยตวง 
พริกป่น                   3         ช้อนชา


ผักสด/ผลไม้ ถั่วฝักยาวซอยบาง               3  1/2 ถ้วยตวง 
แตงกวาผ่าสี่                         1  1/2 ถ้วยตวง 
ตะไคร้หั่นฝอย                       2 ถ้วยตวง 
ส้มโอแกะเป็นกลีบเล็กๆ        3  3/4  ถ้วยตวง 
ถั่วงอกเด็ดหาง                     5  1/4 ถ้วยตวง 
ใบมะกรูดหั่นฝอย                 12 ถ้วยตวง 
ใบชะพลูหั่นฝอย                   2   ถ้วยตวง
 

ส่วนผสมน้ำบูดูปรุงรส 
น้ำบูดูเค็ม                12 ถ้วยตวง 
ตะไคร้ทุบ                14 ท่อน (หั่นเป็นท่อนยาว 3 เซนติเมตร) 
ใบมะกรูด                 10 ใบ 
น้ำเปล่า                    2  1/4 ถ้วยตวง 
น้ำตาลปีบ               1  ถ้วยตวง 
ข่าทุบ                     11 ท่อน (ท่อนหนา 0.5 เซนติเมตร ยาว 2.5 เซนติเมตร) 
หอมแดงทุบ           13 ถ้วยตวง


วิธีทำน้ำบูดู 
1.ตวงน้ำบูดูกับน้ำเปล่าใส่ภาชนะ ใส่ตะไคร้ทุบ ข่าทุบ หอมแดงทุบ ใบมะกรูด น้ำตาลปีบ ต้มจนเดือดประมาณ 30  นาทีลงกรองเอากากทิ้ง
2.นำขึ้นตั้งไฟเคี่ยวต่ออีก 45นาที โดยใช้ไฟอ่อน หมั่นคน จะได้ไม่ไหม้ แล้วตั้งทิ้งไว้ให้เย็น เก็บใส่ขวดไว้กิน


วิธีเตรียมเครื่องข้าวยำ
1.หุงข้าวสวย โดยให้ข้าวที่หุงเม็ดค่อนข้างแข็งนิดหน่อย
2.มะพร้าวขูดคั่วให้เหลือง โดยใช้ไฟอ่อน ทิ้งให้เย็นเก็บในภาชนะปิดสนิท
3.กุ้งแห้งล้างน้ำ 1 ครั้ง ผึ่งให้แห้ง แล้วนำมาบดให้ละเอียด
4.ข้าวตากแห้งทอดพอเหลือง ผึ่งให้เย็นและสะเด็ดน้ำมัน เก็บใส่ภาชนะปิดสนิท
5.ผักสด/ผลไม้ นำมาหั่นฝอยหรือหั่นบางๆ ตามชนิดของผัก เช่น แตงกวาผ่าสี่แล้วหั่นตามขวาง ส้มโอแกะเป็นชิ้นเล็กๆ 
6.ตักข้าวใส่จาน ใส่ข้าวทอด มะพร้าวคั่ว กุ้งแห้ง ผักต่างๆ และส้มโอไว้รอบๆ ข้าวสวย ใส่พริกป่น คลุกให้เข้ากัน เมื่อจะกินจึงราดด้วยน้ำบูดู
 
ข้าวยำปักษ์ใต้จะได้คุณค่าทางโภชนาการ ดังนี้ 
1หน่วยบริโภค เท่ากับ 220 กรัม
พลังงาน           434 กิโลแคลอรี
ไขมัน               1.8 กรัม
โปรตีน              8.8 กรัม 
คาร์โบไฮเดรต 47.5 กรัม(รวมใยอาหาร)
ที่มาของข้อมูล : จากรายงานการวิจัย "คุณค่า อาหารไทยเพื่อสุขภาพ" โดยทีมวิจัยสถาบัน วิจัยโภชนาการ มหาวิทยาลัยมหิดล

จะเห็นได้ว่าข้าวยำปักษ์ใต้เป็นอาหารที่มีคุณค่าทางอาหารสูง เป็นแหล่งที่ดีของใยอาหาร และยังถือว่ามีคุณค่าทางสมุนไพร เพราะประกอบไปด้วยผักหลายชนิด แต่ก็มีไขมันอิ่มตัวค่อนข้างสูง เนื่องจากมีมะพร้าวอยู่ในส่วนผสมของข้าวยำจึงควรระมัดระวังในการกินสำหรับผู้ที่มีปัญหาเรื่องของไขมัน ถึงแม้ว่าวิธีการเตรียมและการทำจะค่อนข้างมากและยุ่งยากพอสมควร แต่ก็คุ้มค่า เพราะสามารถทำเก็บไว้กินได้หลายวัน

 
เคล็ดลับ
1.ตะไคร้ ข่า หอมแดง ใบมะกรูด จะช่วยให้น้ำบูดูมีกลิ่นหอม ไม่เหม็นคาว ช่วยดับกลิ่นคาวของปลาได้
2.ผักที่ใช้กิน ควรเป็นผักสดจะได้รสหวานของผักและความสดกรอบ
3.ส้มโอควรเป็นส้มโอที่มีรสเปรี้ยวจะทำให้ข้าวยำมีรสชาติยิ่งขึ้น
4.ปริมาณของเครื่องปรุงข้าวยำต้องจัดให้ได้สัดส่วนพอเหมาะ เมื่อคลุกแล้วจะได้รสกลมกล่อมพอดี

แหล่งข้อมูลจาก http://www.doctor.or.th/article/detail/4540

วันพฤหัสบดีที่ 27 พฤศจิกายน พ.ศ. 2557

แกงไตปลาน้ำข้น

แกงไตปลาน้ำข้น



ชีวิตของคนภาคใต้เกี่ยวข้องกับท้องทะเล อาหารการกินส่วนใหญ่มาจากทะเล ซึงถ้ามีมากเกินรับประทานก็จะนำอาหารที่ได้จากทะเลนั้นมาทำการถนอมอาหาร

            ไตปลา หรือพุงปลาได้จากการนำพุงปลาทูมารีดเอาไส้ในออก ล้างพุงปลาให้สะอาดแล้วใส่เกลือหมักไว้ประมาณ 1 เดือนขึ้นไป หลังจากนั้นจึงจะนำมาปรุงอาหารได้
              แกงไตปลามีรสจัด จึงต้องรับประทานร่วมกับผักหลาย ๆ ชนิดควบคู่กันไปด้วย เพื่อช่วยลดความเผ็ดร้อนลง ซึ่งคนภาคใต้เรียกว่า ผักเหนาะ ผักเหนาะของภาคใต้มีหลายอย่าง เช่น สะตอ ลูกเนียง ยอดมะม่วงหิมพานต์ ผักบางอย่างก็เป็นผักชนิดเดียวกับภาคกลาง เช่น ถั่วพู ถั่วฝักยาว มะเขือเปราะ แตงกวา หน่อไม้
แกงไตปลา หรือแกงพุงปลาเป็นแกงที่มีไตปลาเป็นส่วนประกอบที่สำคัญ มีทั้งแบบที่ใสและไม่ใส่กะทิ แบบใส่กะทิเป็นที่นิยมในบางท้องที่ เช่นที่จังหวัดยะลา การแกงจะต้มกะทิแค่พอสุก ไม่แตกมัน น้ำพริกแกงประกอบด้วย พริกขี้หนูแห้ง เกลือ พริกไทยเม็ด ตะไคร้ ผิวมะกรูด กระเทียม ขมิ้น หอมกะปิ[3]
แกงไตปลาแบบชุมพรจะไม่ใส่ข่า กระชาย หอม กระเทียมในน้ำพริกแกง แต่จะซอยละเอียดใส่ลงในแกง เรียกแกงแบบนี้ว่าแกงไตปลาเครื่องซอ
วิธีทำเครื่องแกง
  • โขลกเครื่องแกงทั้งหมดรวมกันให้ละเอียด
  • ล้างทำความสะอาดกุ้งทั้งเปลือก หั่นส่วนหัวทิ้ง ก่อนชั่งน้ำหนักตามสูตร รวนกุ้งทั้งเปลือกพร้อมเกลือเล็กน้อย (เพื่อกระจายความร้อนในกะทะ) จนกระทั่งได้เริ่มได้กลิ่นหอมของเปลือกกุ้งและตัวกุ้งเป็นสีส้มแสดงว่าสุกได้ที่
  • ตักกุ้งออกจากกะทะ ทิ้งไว้ให้คลายร้อนเล็กน้อย จึงปอกเปลือกกุ้งออก (ส่วนรับประทานได้คิดเป็นสัดส่วน ครึ่งหนึ่งของน้ำหนักเริ่มต้น)
  • หั่นกุ้งเป็นชิ้นขนาดประมาณ 1 เซนติเมตร สำหรับคลุกกับน้ำพริกกะปิ
  • ปรุงน้ำพริกกะปิโดย โขลกกะปิที่เผาหรือเข้าไมโครเวฟจนหมาดกับกระเทียมให้ละเอียด จากนั้นเติมพริกขี้หนูลงทุบพอแตก
  • ใส่กุ้งที่หั่นแล้ว ปรุงรสด้วย น้ำมะนาว น้ำตาลปึก น้ำปลา ตามด้วยมะเขือพวงบุบพอแตก แล้วจึงตักขึ้น
  • จัดน้ำพริกคู่กับของแนมได้แก่ แตงกวา, ถั่วพู, ขมิ้นขาว และปลาดุกฟู ตามสัดส่วนบริโภค

  • ล้างปลาสำลี ควักไส้ออก ผึ่งให้สะเด็ดน้ำ นำไปย่างให้สุกแกะเอาแต่เนื้อ
  • เอาน้ำ 2 ถ้วยใส่หม้อตั้งไฟ พอน้ำเดือดใส่ไตปลา ปล่อยให้เดือดอีกครั้ง กรองเอาแต่น้ำแล้วนำขึ้นตั้งไฟใหม่
  • ใส่เครื่องแกงที่โขลกไว้ พอหอมใส่เนื้อปลาที่ย่างไว้ ต้มจนเดือด ใส่ใบมะกรูดฉีก รับประทานกับผักสด เช่น สะตอ ยอดชะอม ถั่วฝักยาว ถั่วพู แตงกวา

วีดีโอประกอบการทำแกงไตปลา