นมจีน เป็นอาหารยอดนิยมของชาวปักษ์ใต้อีกอย่างหนึ่งค่ะ 
ในแต่ละจังหวัดนั้นรสชาติของน้ำยาหรือน้ำแกงนั้นอาจจะแตกต่างกันบ้างเล็กน้อย 
แถวๆนครศรีฯ น้ำยาจะไม่มีรสเปรี้ยว(ไม่ใส่ส้ม)เน้นความเผ็ดร้อน ส่วนที่สงขลา,
และยะลาจะใส่ส้มแขกหรือ ส้มท้อน(กระท้อน)เพื่อให้เกิดรสเปรี้ยว 
แต่วันนี้จะนำเสนอน้ำยาที่ใส่ส้มแขกค่ะ
เมื่อเรารับประทานขนมจีนจะต้องมีผักที่กินคู่กับขนมจีนที่หลากหลาย 
คนปักษ์ใต้จะเรียกว่า “ผักเหนาะ” พูดถึงผักเหนาะก็นำเสนอ ผักบ้านๆ เช่น
ยอดยาร่วง(ยอดมะม่วงหิมพานต์)
ยอดมันปู
ยอดหมุย
ผักชีล้อม
ลูกเหรียง(หน่อเหรียง)
ลูกเนียง(ลูกเนียงใหญ่)
ลูกเนียงนก
ลูกตอ(สะตอ)
ารทำน้ำยาขนมจีนปักษ์ใต้นั้นที่สำคัญคือปลาที่นำมาทำต้องสดมากๆ
น้ำยาจะอร่อยกลมกล่อม จะใช้ปลาชนิดไหนก็ได้ แต่ที่บ้านจะใช้ปลาน้ำดอกไม้
(ปักษ์ใต้ที่สงขลาเรียกว่าปลาสาก,ส่วนที่ยะลาจะเรียกว่าปลาถั่วค่ะ) 
เครื่องแกงต้องโขลกกันสดๆเช่นกัน 
การโขลกน้ำพริกแกงจะให้กลิ่นหอมของเครื่องแกงที่ดีกว่าการปั่น 
เพราะการโขลกนั้นจะช่วยให้น้ำมันหอมระเหย
ที่อยู่ในเครื่องเทศจะออกมาได้มากกว่าการปั่นค่ะ 
เรามาดูส่วนผสมกันค่ะ
•ส่วนผสมเครื่องแกง ตะไคร้ 2ต้นพริกขี้หนูแห้งใส่ตามชอบ
ข่าซอย 2แว่นกระเทียม 1หัวหอมแดง 2หัวขมิ้น 1แง่ง (ประมาณ 1นิ้ว)
พริกไทยดำ 1 ช้อนชา, กะปิประมาณ 2 ช้อนโต๊ะเกลือป่นประมาณ 1ช้อนชา
•ส่วนผสมน้ำยา กะทิคั้นจากมะพร้าว ½ กิโลกรัม (หัวกะทิ 1ถ้วย หางกะทิ 2ถ้วย), 
ปลาทั้งตัว ประมาณ ½ กิโลกรัมส้มแขก 5-6 ชิ้นน้ำปลา (เติมแล้วชิมรสตามชอบ)
น้ำตาลแว่น ประมาณ 2 ช้อนโต๊ะ
วิธีการทำน้ำยา
1.โขลกทุกอย่างรวมกันจนละเอียดแล้วเติมกะปิ
2.ต้มปลาแล้วแกะเอาแต่เนื้อปลา
3.ใส่เนื้อปลาลงโขลกรวมกับเครื่องแกง (ข้อ1)
4.คั้นกะทิแยกหัวกะทิและหางกะทิ
5.นำหางกะทิตั้งไฟพอเดือด ใส่น้ำพริกแกง(ข้อ3)คนให้ละลาย ปรุงรสด้วยน้ำปลา 
น้ำตาลแว่นและส้มแขก(ล้างแล้วแช่น้ำให้นิ่มก่อนค่ะ) 
เคี่ยวไฟอ่อนๆสักครู่รอให้ส้มแขกออกรสเปรี้ยว ชิมรสดูตามชอบใจ 
แล้วจึงเติมหัวกะทิลงไปต้มจนเดือดอีกครั้ง ปิดไฟยกลง รับประทานได้แล้วค่ะ